วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ละครดึกดำบรรพ์


          ละครดึกดำบรรพ์ เป็นละครที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ กำเนิดขึ้น ณ บ้านเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ( ม.ร.ว. หลาน กุญชร ) โดยแสดง ณ โรงละครของท่านที่ตั้งชื่อว่า "โรงละครดึกดำบรรพ์" เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ได้เดินทางไปยุโรปเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๔ และมีโอกาสได้ชมละครโอเปร่า (Opera) ซึ่งท่านชื่นชมการแสดงมาก เมื่อกลับมาจึงคิดทำละครโอเปร่าให้เป็นแบบไทย จึงเล่าถวาย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าพระยานริศรานุวัดติวงศ์ก็โปรดเห็นว่าดี ในการสร้างละครดึกดำบรรพ์ครั้งนี้ นอกจากท่านจะเป็นผู้สร้างโรงละครดึกดำบรรพ์ สร้างเครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์การแสดงแล้ว ท่านยังได้รับความร่วมมือจากผู้ร่วมงานที่สำคัญ ได้แก่
          - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระราชนิพนธ์บท และทรงเลือกสรรปรับปรุงทำนองเพลง ออกแบบฉาก และกำกับการแสดง
          - หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ตาด ตาตะนันท์) เป็นผู้จัดทำนองเพลงควบคุมวงดนตรี และปี่พาทย์
          - หม่อมเข็ม กุญชร ณ อยุธยา ภรรยาของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ เป็นผู้ปรับปรุง ประดิษฐ์ท่ารำ และฝึกสอนให้เข้ากับบท และลำนำทำนองเพลง
          ละครดึกดำบรรพ์ได้ออกแสดงครั้งแรกปี พ.ศ. ๒๔๔๒ เนื่องในโอกาสต้อนรับเจ้าชายเฮนรี่ พระอนุชาสมเด็จพระเจ้ากรุงปรัสเซีย ซึ่งเป็นพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ละครดึกดำบรรพ์ได้รับความนิยมตลอดมา จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๕๒ เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ เกิดอาการเจ็บป่วยถวายบังคมลาออกจากราชการ ทำให้ต้องเลิกการแสดงละครดึกดำบรรพ์ไป นับแต่เริ่มแสดงละครดึกดำบรรพ์จนเลิกการแสดงรวมระยะเวลา ๑๐ ปี

ผู้แสดง          ใช้ผู้หญิงล้วน ผู้ที่จะได้รับคัดเลือกให้แสดงละครดึกดำบรรพ์จะต้องมีความสามารถพิเศษด้วยคุณสมบัติ คือ
          - เป็นผู้ที่มีเสียงดี ขับร้องเพลงไทยได้ไพเราะ
          - เป็นผู้ที่มีรูปร่างงาม รำสวย ยิ่งผู้ที่จะแสดงเป็นตัวเอกของเรื่องด้วยแล้ว ต้องใช้ความพินิจพิเคราะห์อย่างมาก
การแต่งกาย          เหมือนอย่างละครในที่เรียกว่า "ยืนเครื่อง" นอกจากบางเรื่องที่ดัดแปลงเพื่อความเหมาะสม และให้ตรงกับความเป็นจริง

เรื่องที่แสดง          ที่เป็นบทละครบางเรื่อง และบางตอน พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้แก่ เรื่องสังข์ทอง เรื่องคาวี ตอนสามหึง เรื่องอิเหนา ตอนไหว้พระ เรื่องสังข์ศิลป์ชัยภาคต้น เรื่องกรุงพานชมทวีป เรื่องรามเกียรติ์ เรื่องอุณรุฑ เรื่องมณีพิชัย
          - บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ เรื่องศกุนตลา เรื่องท้าวแสนปม เรื่องพระเกียรติรถ
          - บทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย ได้แก่ เรื่องสองกรวรวิก เรื่องจันทกินรี เรื่องพระยศเกตุ
การแสดง          จะผิดแปลกจากละครแบบดั้งเดิม เพราะผู้แสดงต้องร้องเองรำเอง ไม่มีบรรยายกิริยาของตัวละคร ได้มีการปรับปรุงการแสดงความเป็นไปในเนื้อเรื่องของละครดึกดำบรรพ์ พยายามแสดงให้สมจริงสมจังมากที่สุด มีการตกแต่งฉาก และสถานที่ ใช้แสง สี เสียง ประกอบฉาก นับเป็นต้นแบบในการจัดฉากประกอบการแสดงของโขน - ละครต่อมา การแสดงมักแสดงตอนสั้นๆให้ผู้ชมละครชมแล้วอยากชมต่ออีก
ดนตรี          ใช้ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เพื่อความไพเราะนุ่มนวล โดยการผสมวงดนตรีขึ้นใหม่ และคัดเอาสิ่งที่มีเสียงแหลมเล็กหรือดังมากๆออกเหลือไว้แต่เสียงทุ้ม ทั้งเพิ่มเติมสิ่งที่เหมาะสมเข้ามา เช่น ฆ้องหุ่ยมี ๗ ลูก ๗ เสียง ต่อมาเรียกว่า "วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์"
เพลงร้อง
          นำมาจากบทละคร โดยปรับปรุงหลายอย่าง คือ
          - ตัดคำว่า "เมื่อนั้น" "บัดนั้น" เมื่อจะกล่าวถึงใครออก โดยให้ตัวละครรำใช้บทเพื่อให้เข้าใจว่าใครเป็นผู้พูด
          - คัดเอาแต่บทเจรจาไว้ โดยยกบทเจรจามาร้องรำ ให้ตัวละครร้องโต้ตอบกันเอง
          - ไม่มีบทที่กล่าวถึงกิริยาของตัวละครว่า จะนั่ง จะเดินซ้ำอีก ทำให้ผู้แสดงไม่เคอะเขิน
          - บรรยายภาพไว้ในบทร้อง ประกอบศิลปะการรำ
          - ไม่มีคำบรรยาย
          - บทโต้ตอบ ทุ่มเถียง วิวาท ใช้บทเจรจาเป็นกลอนแทน และเจรจาเหมือนจริง
          - มีการนำทำนองเสนาะในการอ่านโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน มาใช้
          - มีการนำเพลงพื้นเมือง เพลงชาวบ้าน การละเล่นของเด็กมาใช้
          - มีการเจรจาแทรกบทร้องโดยรักษาจังหวะตะโพนให้เข้ากับบทร้อง และอื่นๆ
สถานที่แสดง          มักแสดงตามโรงละครทั่วไป เพราะต้องมีการจัดฉากประกอบให้ดูสมจริงมากที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557


รำฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง” เพลงที่ใช้ในการแสดงชุดนี้ ใช้เพลงฉุยฉาย
ประกอบท่ารำ ตัวละครฝ่ายนางถือกิ่งไม้เงินทองในบท "สองนางเนื้อ
เหลือง" ฉบับเจ้าจอมละม้าย อาจารย์เฉลย ศุขะวณิช เป็นผู้ถ่ายทอด
ฉุยฉายชุดนี้จนเป็นที่นิยมแพร่หลาย ใช้เป็นฉุยฉายเบิกโรงชุดหนึ่ง 
สำหรับบทร้องการรำฉุยฉายชุดนี้ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาท
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีเนื้อร้องดังต่อไปนี้ 
          
ฉุยฉายเอย

สองนางเนื้อเหลืองย่างเยื้องกรีดกราย

ห่มผ้าหน้าปักชาย

ผันผายมาเบิกโรง

     มือถือกิ่งไม้เงินทอง

เป็นของสง่าอ่าโถง

ได้ฤกษ์งามยามโมง

จะชักโยงคนมาดู

     การฟ้อนละครใน

มิให้ผู้ใดมาเล่นสู้

ล้วนอร่ามงามตรู

เชิดชูพระเกียรติเอย

      สองแม่เอย

แม่งามหนักหนา

เหมือนหนึ่งเทพธิดา

ลงมากรายถวายกร

      รำเต้นเล่นดูดี

ยิ่งกว่ามีมาแต่ก่อน

เว้นแต่ท้ายไม่งอน

ไม่เหมือนละครนอกเอย




คุณครูลมุล ยมะคุปต์

ประวัติและผลงานนาฎยประดิษฐ์ของครูลมุล ยมะคุปต์
ครูลมุล ยมะคุปต์
(.. 2448-2525) เกิดที่จังหวัดน่าน เมื่ออายุได้ ขวบ บิดาได้พามาถวายตัวเป็นละครที่วังสวนกุหลาบ และที่วังสวนกุหลาบ ครูลมุลได้ความรู้ทางละครในรูปแบบของละครนอก ละครในและละครพันทาง ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่วังเพชรบูรณ์ และได้ความรู้ในเรื่องของละครดึกดำบรรพ์ เมื่อออกจากวังเพชรบูรณ์ ครูลมุลได้สมรสกับครูสงัด ยมะคุปต์ และได้ขึ้นไปเป็นครูสอนละครที่เชียงใหม่ในคุ้มพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ซึ่งครูลมุลได้ความรู้เกี่ยวกับนาฏยศิลป์ล้านนาและพม่า ครูลมุลได้นำคณะละครไปแสดงที่เมืองพระตะบอง ประเทศเขมร อยู่ 1 ปี ซึ่งคงได้ประสบการณ์ด้านดนตรีและนาฏศิลป์ของเขมรมาบ้าง ต่อมาเข้ารับราชการเป็นครูแผนกนาฏศิลป์ กรมศิลปากร และทำงานตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย มีผลงานระหว่างปี พ.. 2477-2525 มากกว่า 50 ชุด แบ่งได้เป็น ประเภท คือ
 1ระบำที่ยึดแบบแผนนาฏยศิลป์ไทย 
 2ระบำที่ผสมผสานทั้งอาศัยและไม่ได้อาศัยแบบแผนนาฏยศิลป์ไทย
 3ระบำจากภาพแกะสลักโบราณคดี
 4. ระบำประกอบเครื่องดนตรี 
 5. ระบำกำ-แบ 
6ระบำเลียนแบบท่าทางของสัตว์ ผลงานเหล่านี้ผู้วิจัยพบว่ามี 2 แนว คือ แนวอนุรักษ์และแนวพัฒนา ระบำพม่า-มอญ ที่ผู้วิจัยใช้เป็นกรณีศึกษานี้ เป็นระบำประเภทผสมผสานลักษณะท่ารำของพม่าและท่ารำของมอญ ผู้วิจัยพบว่ครูลมุล ยมะคุปต์ น่าจะได้แนวคิดจากแหล่งที่มาดังนี้ 1ท่ารำมอญของชาวมอญในประเทศไทย
2ท่ารำของมอญในละครพันทาง 
3. ท่ารำของพม่าในละครพันทาง 
4. ท่ารำของฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตาทางภาคเหนือ ระบำพม่า-มอญเป็นระบำในละครพันทางเรื่องราชาธิราชตอนกระทำสัตย์ แสดงเมื่อปี 2496 ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน แบ่งออกเป็น กลุ่ม คือ พม่าและมอญ แบ่งการแสดงเป็น ท่อน คือ 1. กลุ่มพม่าออกในเพลงรัวพม่า 
2กลุ่มมอญออกในเพลงมอญยาดเล้ 
3รำพร้อมกัน
4. รำเข้าในเพลงรัวมอญ ปัจจุบันการแสดงระบำพม่า-มอญยังคงรูปแบบการแสดง และจัดอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนของวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ในกรณีศึกษาระบำพม่า-มอญ ผู้วิจัยพบว่าครูลมุลสามารถนำเอาท่ารำของต่างชาติ มาประดิษฐ์ขึ้นใหม่ได้อย่างแนบเนียนและกลมกลืน ระหว่างนาฏยศิลป์ รูปแบบที่แตกต่างกันอย่างมาก ทั้งยังเป็นแนวคิดและกลวิธีที่เป็นประโยชน์ต่อการประดิษฐ์ระบำในยุคหลังๆ และเนื่องจากผลงานนาฏยประดิษฐ์ของครูลมุลมีมาก จึงควรมีการวิจัยที่ล่มลึกศึกษากันต่อไป


โขน 


       โขนเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงที่เก่าแก่ของไทย มีมานานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตามหลักฐานจากจดหมายเหตุของลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวถึงการเล่นโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทางเข้ากับเสียงซอและเครื่องดนตรีอื่นๆ ผู้เต้นสวมหน้ากากและถืออาวุธ  โขนเป็นที่รวมของศิลปะหลายแขนงคือ โขนนำวิธีเล่นและวิธีแต่งตัวบางอย่างมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ โขนนำท่าต่อสู้โลดโผน ท่ารำท่าเต้นมาจากกระบี่กระบอง และโขนนำศิลปะการพากย์การเจรจา หน้าพาทย์เพลงดนตรี การแสดงโขน ผู้แสดงสวมศีรษะคือหัวโขน ปิดหน้าหมด ยกเว้น เทวดา มนุษย์ และมเหสี ธิดาพระยายักษ์  มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้และมีคนพากย์และเจรจาให้ด้วย  เรื่องที่แสดงนิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุฑ  ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขนใช้วงปี่พาทย์


         ประเภทของโขน แบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ

๑  โขนกลางแปลง
๒  โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว
๓  โขนหน้าจอ
๔  โขนโรงใน
๕  โขนฉาก

            โขนกลางแปลง คือ การเล่นโขนบนพื้นดิน ณ กลางสนาม ไม่ต้องสร้างโรงให้เล่น นิยมแสดงตอนยกทัพรบกัน โขนกลางแปลงได้วิวัฒนาการมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ เรื่องกวนน้ำอมฤต เรื่องมีอยู่ว่า เทวดาและอสูรใคร่จะเป็นอมตะ จึงไปทูลพระนารายณ์ พระนารายณ์จึงแนะนำให้กวนน้ำอมฤต โดยใช้เขามนทคิรีเป็นไม้กวน เอาพระยาวาสุกรีเป็นเชือกพันรอบเขา เทวดาชักทางหาง หมุนเขาไปมา พระยาวาสุกรีพ่นพิษออกมา  พระนารายณ์เชิญให้พระอิศวรดื่มพิษนั้นเสีย พระอิศวรจึงมีศอสีนิลเพราะพิษไหม้  ครั้นกวนต่อไป เขามนทคิรีทะลุลงไปใต้โลก พระนารายณ์จึงอวตารเป็นเต่าไปรองรับเขามนทคิรีไว้  ครั้นได้น้ำอมฤตแล้ว เทวดาและอสูรแย่งชิงน้ำอมฤตกันจนเกิดสงคราม พระนารายณ์จึงนำน้ำอมฤตไปเสีย พวกอสูรไม่ได้ดื่มน้ำอมฤตก็ตายในที่รบเป็นอันมาก เทวดาจึงเป็นใหญ่ในสวรรค์  พระนารายณ์เมื่อได้น้ำอมฤตไปแล้ว ก็แบ่งน้ำอมฤตให้เทวดาและอสูรดื่ม พระนารายณ์แปลงเป็นนางงามรินน้ำอมฤตให้เทวดา แต่รินน้ำธรรมดาให้อสูร  ฝ่ายราหูเป็นพี่น้องกับพระอาทิตย์และพระจันทร์แต่ราหูเป็อสูร  ราหูเห็นเทวดาสดชื่นแข็งแรงเมื่อได้ดื่มน้ำอมฤต แต่อสูรยังคงอ่อนเพลียอยู่ เห็นผิดสังเกต จึงแปลงเป็นเทวดาไปปะปนอยู่ในหมู่เทวดา จึงพลอยได้ดื่มน้ำอมฤตด้วย  พระอาทิตย์และพระจันทร์จึงแอบบอกพระนารายณ์ พระนารายณ์โกรธมากที่ราหูตบตาพระองค์ จึงขว้างจักรไปตัดกลางตัวราหู ร่างกายท่อนบนได้รับน้ำอมฤตก็เป็นอมตะ แต่ร่างกายท่อนล่างตายไป  ราหูจึงเป็นยักษ์มีกายครึ่งท่อน  ราหูโกรธและอาฆาตพระอาทิตย์และพระจันทร์มาก พบที่ไหนก็อมทันที  เกิดเป็นราหูอมจันทร์หรือจันทรคราสและสุริยคราส  ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้ามาเทศนาให้ราหูเลิกพยาบาทจองเวร ราหูจึงได้คลายพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ออก
        การเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ เล่นในพิธีอินทราภิเษก มีปรากฏในกฎมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา  โขนกลางแปลงนำวิธีการแสดงคือการจัดกระบวนทัพ การเต้นประกอบหน้าพาทย์ มาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ แต่เปลี่ยนมาเล่นเรื่องรามเกียรติ์ และเล่นตอนฝ่ายยักษ์และฝ่ายพระรามยกทัพรบกัน  จึงมีการเต้นประกอบหน้าพาทย์ และอาจมีบทพาทย์และเจรจาบ้างแต่ไม่มีบทร้อง

              โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว  เป็นการแสดงบนโรงมีหลังคา ไม่มีเตียงสำหรับตัวโขนนั่ง แต่มีราวพาดตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉาก (ม่าน)  มีช่องทางให้ผู้แสดงเดินได้รอบราวแทนเตียง มีการพากย์และเจรจา แต่ไม่มีการร้อง  ปี่พาทย์บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ มีปี่พาทย์ ๒ วง เพราะต้องบรรเลงมาก ตั้งหัวโรงท้ายโรง จึงเรียกว่าวงหัวและวงท้าย หรือวงซ้ายและวงขวา  วันก่อนแสดงโขนนั่งราวจะมีการโหมโรง และให้พวกโขนออกมากระทุ้งเส้าตามจังหวะเพลง  พอจบโหมโรงก็แสดงตอนพิราพออกเที่ยวป่า จับสัตว์กินเป็นอาหาร พระรามหลงเข้าสวนพวาทองของพราพ แล้วก็หยุดแสดง พักนอนค้างคืนที่โรงโขน รุ่งขึ้นจึงแสดงตามเรื่องที่เตรียมไว้ จึงเรียกว่า "โขนนอนโรง"

              โขนหน้าจอ  คือโขนที่เล่นตรงหน้าจอ ซึ่งเดิมเขาขึงไว้สำหรับเล่นหนังใหญ่  ในการเล่นหนังใหญ่นั้น มีการเชิดหนังใหญ่อยู่หน้าจอผ้าขาว  การแสดงหนังใหญ่มีศิลปะสำคัญ คือการพากย์และเจรจา มีดนตรีปี่พาทย์ประกอบการแสดง  ผู้เชิดตัวหนังต้องเต้นตามลีลาและจังหวะดนตรี นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ต่อมามีการปล่อยตัวแสดงออกมาแสดงหนังจอ แทนการเชิดหนังในบางตอน เรียกว่า "หนังติดตัวโขน" มีผู้นิยมมากขึ้น เลยปล่อยตัวโขนออกมาแสดงหน้าจอตลอด ไม่มีการเชิดหนังเลย จึงกลายเป็นโขนหน้าจอ และต้องแขวะจอเป็นประตูออก ๒ ข้าง เรียกว่า "จอแขวะ"

              โขนโรงใน  คือ โขนที่นำศิลปะของละครในเข้ามาผสม  โขนโรงในมีปี่พาทย์บรรเลง ๒ วงผลัดกัน  การแสดงก็มีทั้งออกท่ารำเต้น ทีพากย์และเจรจาตามแบบโขน กับนำเพลงขับร้องและเพลงประกอบกิริยาอาการ ของดนตรีแบบละครใน และมีการนำระบำรำฟ้อนผสมเข้าด้วย เป็นการปรับปรุงให้วิวัฒนาการขึ้นอีก การผสมผสานระหว่างโขนกับละครในสมัยรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒  ทั้งมีราชกวีภายในราชสำนักช่วยปรับปรุงขัดเกลา และประพันธ์บทพากย์บทเจรจาให้ไพเราะสละสลวยขึ้นอีก
              โขนที่กรมศิลปากรนำออกแสดงในปัจจุบันนี้ ก็ใช้ศิลปะการแสดงแบบโขนโรงใน ไม่ว่าจะแสดงกลางแจ้งหรือแสดงหน้าจอก็ตาม

              โขนฉาก  เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีผู้คิดสร้างฉากประกอบเรื่องเมื่อแสดงโขนบนเวที คล้ายกับละครดึกดำบรรพ์ ส่วนวิธีแสดงดำเนินเช่นเดียวกับโขนโรงใน แต่มีการแบ่งเป็นชุดเป็นตอน เป็นฉาก และจัดฉากประกอบตามท้องเรื่อง จึงมีการตัดต่อเรื่องใหม่ไม่ให้ย้อนไปย้อนมา เพื่อสะดวกในการจัดฉาก  กรมศิลปากรได้ทำบทเป็นชุดๆ ไว้หลายชุด เช่น ชุดปราบกากนาสูร ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ชุดชุดนางลอย ชุดนาคบาศ ชุดพรหมาสตร์ ชุดศึกวิรุญจำบัง ชุดทำลายพิธีหุงน้ำทิพย์ ชุดสีดาลุยไฟและปราบบรรลัยกัลป์ ชุดหนุมานอาสา ชุดพระรามเดินดง ชุดพระรามครองเมือง

        การแสดงโขน โดยทั่วไปนิยมแสดงเรื่อง "รามเกียรติ์" กรมศิลปากรเคยจัดแสดงเรื่องอุณรุฑ แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่าเรื่องรามเกียรติ์  เรื่องรามเกียรติ์ที่นำมาแสดงโขนนั้นมีหลายสำนวน ทั้งที่ประพันธ์ขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์  โดยเฉพาะบทในสมัยรัตนโกสินทร์ นิยมแสดงตามสำนวนของรัชกาลที่ ๒ ที่กรมศิลปากรปรับปรุงเป็นชุดเป็นตอน เพื่อแสดงโขนฉาก ก็เดินเรื่องตามสำนวนของรัชกาลที่ ๒  รัชกาลที่ ๖ ก็เคยทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์ไว้ถึง ๖ ชุด คือ ชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกา และชุดนาคบาศ

            การแต่งกายโขน  แบ่งออกเป็น ๓ ฝ่าย คือ

   ฝ่ายมนุษย์เทวดา(พระ นาง)
   ฝ่ายยักษ์
   ฝ่ายลิง 
          
เครื่องแต่งกายตัวพระ                            เครื่องแต่งกายตัวนาง

                  
เครื่องแต่งกายตัวยักษ์                        เครื่องแต่งกายตัวลิง


          วิธีดูโขน  
        โขนเป็นละครใบ้ โดยเฉพาะโขนกลางแปลง ผู้ดูจึงต้องดูการแสดงท่าทาง ซึ่งจะบอกความหมาย ความรู้สึก ความคิด ความประสงค์ต่างๆ ได้ทุกอย่าง  ท่าทางที่โขนแสดงออกย่อมสัมพันธ์กับดนตรี ฉะนั้น หน้าพาทย์ต่างๆ ที่ใช้ในการแสดงโขนจึงมีความสำคัญมาก เช่น เพลงกราวนอก กราวในที่ใช้ในเวลาจัดทัพ แสดงให้เห็นความเข้มแข็งคึกคักของทหาร  ท่าทางของผู้แสดงก็แสดงให้เห็นความเข้มแข็งคึกคัก กระหยิ่ม องอาจ กล้าหาญ ความพร้อมเพรียงของกองทัพ  หรือเพลงเชิดและท่ารบ ก็แสดงให้เห็นการรุกไล่หลบหลีก ปิดป้อง หลอกล่อต่างๆ

           ภาษาท่าทางของโขน จำแนกได้เป็น ๓ ประเภท คือ

               ๑.  ท่าซึ่งใช้แทนคำพูด  เช่น รับ ปฏิเสธ
               ๒.  ท่าซึ่งใช้เป็นอิริยาบท และกิริยาอาการ  เช่น เดิน ไหว้ ยิ้ม ร้องไห้
               ๓.  ท่าซึ่งแสดงถึงอารมณ์ภายใน  เช่น รัก โกรธ ดีใจ เสียใจ

           โอกาสที่แสดงโขน  
               ๑.  แสดงเป็นมหกรรมบูชา  เช่น ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ หรือพระศพ พระบรมอัฐิ หรืออัฐเจ้านาย ตลอดจนศพขุนนาง หรือผู้ใหญ่เป็นที่เคารพนับถือทั่วไป
               ๒.  แสดงเป็นมหรสพสมโภช  เช่น ในงานฉลองปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ พระพุทธบาท พระแก้วมรกต พระอาราม หรือสมโภชเจ้านายทรงบรรพชา สมโภชในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมโภชในงานเฉลิมพระชนม์พรรษา สมโภชวันประสูติเจ้านายที่สูงศักดิ์ เป็นต้น
               ๓.  แสดงเป็นมหรสพเพื่อความบันเทิง ในโอกาสทั่วๆ ไป


ระบำ รำ ฟ้อน

  นาฏศิลป์ เป็นการรวมความเป็นเลิศของศิลปะแขนงต่าง ๆ วิวัฒนาการมาพร้อมกับความเจริญของมนุษย์ โดยอาศัยพลังและเจตนา เป็นเครื่องผลักดันให้จิตกระตุ้นร่างกายให้แสดงการเคลื่อนไหว มีจังหวะ มีแบบแผน เพื่อให้เกิดความสุข ความเข้าใจ และความงดงามแก่ตนเองและผู้อื่น  นาฏศิลป์ไทย เป็นศิลปวัฒนธรรมประจำชาติแต่โบราณ เป็นศิลปะชั้นสูง แยกประเภทการแสดงออกเป็นหลายแบบ ใช้ภาษาท่าเหมือนกันแต่แยกลักษณะและประเภทการแสดงแตกต่างกัน  ขอบ ข่ายของนาฏศิลป์ไทย จำแนกเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่ โขน หนัง หุ่น ละครรำ ละครรำ ละครร้อง ละครสังคีต ละครพูด การละเล่นของหลวงการเล่นเบิกโรงการละเล่นพื้นเมือง
        นาฏศิลป์ไทยประเภทต่างๆ ดังกล่าวมานี้ เรียกกันโดยทั่วไปว่า "มหรสพ" ซึ่งหมายถึงการเล่นรื่นเริง มีโขน ละคร หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ปัจจุบันมหรสพมีความหมายกว้างขวาง รวมไปถึงการเล่นรื่นเริงทุกชนิด มีระบำ รำ ฟ้อน เป็นต้น
     
      ระบำ
 คือ ศิลปะของการร่ายรำที่แสดงพร้อมกันเป็นหมู่เป็นชุด ความงามของการแสดงระบำ อยู่ที่ความสอดประสานกลมกลืนกัน ด้วยความพร้อมเพรียงกัน  การแสดงมีทั้งเนื้อร้องและไม่มีเนื้อร้อง ใช้เพียงดนตรีประกอบ  คำว่า "ระบำ" รวมเอา "ฟ้อน" และ "เซิ้ง" เข้าไว้ด้วยกัน เพราะวิธีการแสดงไปในรูปเดียวกัน แตกต่างกันที่วิธีร่ายรำ และการแต่งกายตามระเบียบประเพณีตามท้องถิ่น
ระบำ แบ่งออกเป็น ชนิด คือ ระบำดั้งเดิมหรือระบำมาตรฐาน และระบำปรับปรุงหรือระบำเบ็ดเตล็ด
    
     รำ หมายถึง การแสดงที่มุ่งความงามของการร่ายรำ เป็นการแสดงท่าทางลีลาของผู้รำ โดยใช้มือแขนเป็นหลัก
1. การรำเดี่ยว คือ การรำที่ใช้ผู้แสดงเพียงคนเดียว จุดมุ่งหมายคือ
     1.1  ต้องการอวดฝีมือในการรำ
     1.2 ต้องการแสดงศิลปะร่ายรำ
     1.3 ต้อง การสลับฉากเพื่อรอการจัดฉากหรือตัวละครแต่งกายยังไม่เสร็จเรียบร้อย การรำเดี่ยว เช่น การรำฉุยฉายต่าง ๆ รำมโนราห์บูชายัญ รำพลายชุมพล ฯลฯ
2.  การรำคู่  แบ่งเป็น ประเภท คือ รำคู่ในเชิงศิลปะการต่อสู้ ไม่มีบทร้อง และรำคู่ในชุดสวยงาม
     2.1  การรำคู่ในเชิงศิลปะการต่อสู้ ได้แก่ กระบี่ กระบอง ดาบสองมือ โล่ ดาบ เขน ดั้ง ทวน และรำกริชเป็นการรำไม่มีบทร้องใช้สลับฉากในการแสดง
     2.2  การรำคู่ในชุดสวยงาม ท่ารำในการรำจะต้องประดิษฐ์ให้สวยงาม ทั้งท่ารำที่มีคำร้องตลอดชุด หรือมีบางช่วงเพื่ออวดลีลาท่ารำ มีบทร้องและใช้ท่าทางแสดงความหมายในตอนนั้น ๆ ได้แก่ หนุมานจับสุพรรณมัจฉา หนุมานจับนางเบญกาย พระรามตามกวาง พระลอตามไก่ รามสูร เมขลา รจนาเสี่ยงพวงมาลัย ทุษยันต์ตามกวาง รำแม่บท รำประเลง รำดอกไม้เงินทอง รถเสนจับม้า
3.  การรำหมู่  เป็นการแสดงมากกว่า คนขึ้นไป ได้แก่ รำโคม ญวนรำกระถาง รำพัด รำวงมาตรฐาน และรำวงทั่วไป การแสดงพื้นเมืองของชาวบ้าน เช่น เต้นกำรำเคียว รำกลองยาว  
            
     ฟ้อน  หมายถึง ศิลปะการแสดงที่เป็นประเพณีของทางภาคเหนือ จะใช้ผู้แสดงเป็นจำนวนมาก
มีลีลาการฟ้อนพร้อมเพรียงกันด้วยจังหวะที่ค่อนข้างช้า 
เอกลักษณ์และความสำคัญของการฟ้อนรำไทย
          การฟ้อนรำของไทย มีลักษณะเฉพาะตัว และมีความเป็นไทยในตัวเองเป็นอย่างยิ่ง เป็นศิลปะประจำชาติ ไม่ซ้ำหรือเหมือนของชาติอื่น นับว่าเป็นสมบัติอันเป็นวัฒนธรรมของชาติที่น่าภูมิใจยิ่ง



นาฏศิลป์ เป็นการรวมความเป็นเลิศของศิลปะแขนงต่าง ๆ วิวัฒนาการมาพร้อมกับความเจริญของมนุษย์ โดยอาศัยพลังและเจตนา เป็นเครื่องผลักดันให้จิตกระตุ้นร่างกายให้แสดงการเคลื่อนไหว มีจังหวะ มีแบบแผน เพื่อให้เกิดความสุข ความเข้าใจ และความงดงามแก่ตนเองและผู้อื่น  นาฏศิลป์ไทย เป็นศิลปวัฒนธรรมประจำชาติแต่โบราณ เป็นศิลปะชั้นสูง แยกประเภทการแสดงออกเป็นหลายแบบ ใช้ภาษาท่าเหมือนกันแต่แยกลักษณะและประเภทการแสดงแตกต่างกัน  ขอบ ข่ายของนาฏศิลป์ไทย จำแนกเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่ โขน หนัง หุ่น ละครรำ ละครรำ ละครร้อง ละครสังคีต ละครพูด การละเล่นของหลวงการเล่นเบิกโรงการละเล่นพื้นเมือง
        นาฏศิลป์ไทยประเภทต่างๆ ดังกล่าวมานี้ เรียกกันโดยทั่วไปว่า "มหรสพ" ซึ่งหมายถึงการเล่นรื่นเริง มีโขน ละคร หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ปัจจุบันมหรสพมีความหมายกว้างขวาง รวมไปถึงการเล่นรื่นเริงทุกชนิด มีระบำ รำ ฟ้อน เป็นต้น
  
     

ความหมายของคำว่า "ระบำ รำ ฟ้อน"
         ระบำ เป็นคำกริยา หมายถึง การแสดงที่ต้องใช้คนจำนวนมากกว่า 2 คนขึ้นไป ซึ่งการแสดงนั้นๆจะใช้เพลงบรรเลงโดยมีเนื้อร้องหรือไม่มีเนื้อร้องก็ได้ ระบำนั้นเป็นศิลปะของการร่ายรำที่เป็นชุด ไม่ดำเนินเป็นเรื่องราว ผู้รำแต่งกายงดงาม จุดมุ่งหมายเพื่อแสดงความงดงามของศิลปะการรำไม่มีการดำเนินเรื่อง

          รำ เป็นคำกริยา หมายถึง แสดงท่าเคลื่อนไหวคนเดียวหรือหลายคน โดยมีลีลา และแบบท่าของการเคลื่อนไหว และมีจังหวะลีลาเข้ากับเสียงที่ทำจังหวะเพลงร้องหรือเพลงดนตรี รำในความหมายต่อมาคือ "รำละคร"

          ฟ้อน หมายถึง การแสดงกริยาเดียวกับระบำหรือการรำ เพียงแต่เรียกให้แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น จัดเป็นการแสดงพื้นเมืองของภาคนั้นๆ แต่ในรูปของการแสดงแล้วก็คือ ลักษณะการร่ายรำนั่นเอง ที่ผู้แสดงต้องแสดงให้ประณีตงดงาม


 ระบำ

ประเภทของระบำ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ 
           ระบำมาตรฐาน เป็นระบำแบบดั้งเดิมที่มีมาแต่โบราณกาล ไม่สามารถนำมาเปลี่ยนแปลงท่ารำได้ เพราะถือว่าเป็นการร่ายรำที่เป็นแบบฉบับ บรมครูนาฏศิลป์ได้คิดประดิษฐ์ไว้ และนิยมนำมาเป็นแบบแผนในการรำที่เคร่งครัด การแต่งกายของระบำประเภทนี้ มักแต่งกายในลักษณะที่เรียกว่า "ยืนเครื่อง"
      การแต่งกายยืนเครื่องพระ                  การแต่งกายยืนเครื่องนาง
                 
         
         ระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เป็นลักษณะระบำที่ปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของผู้แสดง และการนำไปใช้ในโอกาสต่างๆกัน จำแนกออกเป็น
               ปรับปรุงมาจากพื้นบ้าน หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ขึ้นมาจากแนวทางความเป็นอยู่ของคนพื้นบ้าน การทำมาหากิน อุตสาหกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีในแต่ละท้องถิ่นออกมาในรูประบำ เพื่อเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นของตน เช่น เซิ้งบั้งไฟ เต้นกำรำเคียว ระบำงอบ ระบำกะลา ฯลฯ
               ปรับปรุงมาจากท่าทางของสัตว์ หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใหม่ตามลักษณะลีลาท่าทางของสัตว์ชนิดต่างๆ บางครั้งอาจนำมาใช้ประกอบการแสดงโขน - ละคร บางครั้งก็นำมาใช้เป็นการแสดงเบ็ดเตล็ด เช่น ระบำนกยูง ระบำนกเขา ระบำมฤครำเริง ระบำตั๊กแตน ฯลฯ
               ปรับปรุงมาจากตามเหตุการณ์ หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้ตามโอกาสที่เหมาะสม เช่น ระบำพระประทีป ระบำโคมไฟ ประดิษฐ์ขึ้นรำในวันนักขัตฤกษ์ ลอยกระทงในเดือนสิบสอง ระบำที่เกี่ยวกับการอวยพรต่างๆสำหรับเป็นการต้อนรับ และแสดงความยินดี
                    ปรับปรุงขึ้นใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน ระบำประเภทนี้เป็นระบำประดิษฐ์ และสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสื่อนำสู่บทเรียน เหมาะสำหรับเด็กๆ เป็นระบำง่ายๆ เพื่อเร้าความสนใจประกอบบทเรียนต่างๆ เช่น ระบำสูตรคูณ ระบำวรรณยุกต์ ระบำเลขไทย ฯลฯ
           ระบำประเภทปรับปรุงขึ้นใหม่นี้ ลักษณะท่าทางจะไม่ตายตัว มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ ตัวบุคคล ตลอดจนฝีมือ และความสามารถของผู้สอน และตัวนักเรียนเอง



 การรำ  

ประเภทของการรำ การรำจะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ 2 ประเภท คือ
       แบ่งตามลักษณะของการแสดงโขน - ละคร ได้แก่

                  การรำหน้าพาทย์ เป็นการรำประกอบเพลงแบบหนึ่ง ซึ่งได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่า "หน้าพาทย์" ไว้ดังนี้
          "การรำหน้าพาทย์ คือ การรำตามทำนองเพลงดนตรีปี่พาทย์ บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร และอื่นๆ ผู้แสดงจะต้องเต้นหรือรำไปตามจังหวะ และทำนองเพลงที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะหรือถือหลักการบรรเลงเป็นสำคัญ"
                  การรำบท เป็นการรำอีกประเภทหนึ่งซึ่งได้มีผู้ให้ความหมายต่างๆ ดังนี้  การรำบท คือ การแสดงท่าทางแทนคำพูดให้มีความหมายต่างไป รวมทั้งแสดงอารมณ์ด้วย หรือการแสดงท่าทางไปตามบท และไม่ใช้เสียงประกอบการพูด ฉะนั้นจึงหมายถึงการแสดงในความหมายของนาฏศิลป์ โดยใช้ภาษาท่าทางสื่อความหมาย

      ประเภทที่แบ่งตามลักษณะของการรำ

                      รำเดี่ยว คือ การแสดงการรำที่ใช้ผู้แสดงเพียงคนเดียว ได้แก่ การรำฉุยฉายต่างๆ เช่น ฉุยฉายวันทอง ฉุยฉายเบญกาย เป็นต้น
                      รำคู่ คือการแสดงที่นิยมใช้เบิกโรงอาจจะเกี่ยวข้องกับการแสดงหรือไม่ก็ได้ เช่น รำประเลง รำแม่บท รำอวยพร หรือเป็นการรำคู่ที่ตัดตอนมาจากการแสดงละคร เช่นพระลอตามไก่จากเรื่องพระลอ
                      รำหมู่ คือ การแสดงที่ใช้ผู้แสดงมากกว่า 2 คนขึ้นไป มุ่งความงามของท่ารำ และความพร้อมเพรียงของผู้แสดง เช่น รำวงมาตรฐาน รำพัด รำโคมรำสีนวล



 การฟ้อน 

ประเภทของการฟ้อน 
          ศิลปการแสดง "ฟ้อน" ในลานนานั้น มีลักษณะเป็นศิลปะที่ผสมกันโดยสืบทอดมาจากศิลปะของชนชาติต่างๆ ที่มีการก่อตั้งชุมชนอาศัยอยู่ในอาณาเขตลานนานี้มาช้านาน นอกจากนี้ยังมีลักษณะของการรับอิทธิพลจากศิลปะของชนชาติที่อยู่ใกล้เคียงกันด้วย จากการพิจารณาศิลปะการฟ้อนที่ปรากฎในลานนายุคปัจจุบัน ท่านอาจารย์ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แบ่งการฟ้อนออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

                ฟ้อนที่สืบเนื่องมาจากการนับถือผี เป็นการฟ้อนที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อถือ และพิธีกรรม ได้แก่ ฟ้อนผีมด ผีเม็ง ฟ้อนผีบ้านผีเมือง เป็นต้น
                ฟ้อนแบบเมือง หมายถึงศิลปะการฟ้อน ที่มีลีลาแสดงลักษณะเป็นแบบฉบับของ "คนเมือง" หรือ "ชาวไทยยวน" ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่เป็นปึกแผ่นในแว่นแคว้น "ลานนา" นี้ การฟ้อนประเภทนี้ ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนเจิง ฟ้อนดาบ เป็นต้น
                ฟ้อนแบบม่าน คำว่า "ม่าน" ในภาษาลานนา หมายถึง "พม่า" การฟ้อนประเภทนี้เป็นการผสมผสานกันระหว่างศิลปะการฟ้อนของพม่ากับของไทยลานนา ได้แก่ ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา
                ฟ้อนแบบเงี้ยวหรือไทยใหญ่ หมายถึง การฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะการแสดงของชาวไทยใหญ่ (คนไทยลานนามักเรียกชาวไทยใหญ่ว่า "เงี้ยว" ในขณะที่ชาวไทยใหญ่มักเรียกตนเองว่า "ไต") ได้แก่ การฟ้อนไต ฟ้อนเงี้ยว กิ่งกะหร่า (กินราหรือฟ้อนนางนก) เป็นต้น
               ฟ้อนที่ปรากฎในการแสดงละคร การฟ้อนประเภทนี้เป็นการฟ้อนที่มีผู้คิดสร้างสรรค์ขึ้นในการแสดงละครพันทาง ซึ่งนิยมกันในราวสมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่ ฟ้อนน้อยใจยา ฟ้อนลาวแพน ฟ้อนม่านมงคล เป็นต้น